วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
คำศัพท์
RSS
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
ข้อดีของ RSS
RSSช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
จุดเด่นของ RSS
ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์ รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
_____________________________________________
XML
XML ย่อมาจาก Extensible Markup Language คือภาษาหนึ่งที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล ซึ่งภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ ถ้าเปรียบเทียบกับภาษา HTML จะแตกต่างกันที่ HTML ถูกออกแบบมาเพื่อการแสดงผลอย่างเดียวเท่านั้น เช่นให้แสดงผลตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง เหมือนที่คุณเคยเห็นในเวบเพจทั้วไป แต่ภาษา XML นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูล โดยทั้งข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูลนั้นๆไว้ด้วยกัน ส่วนการแสดงผลก็จะใช้ภาษาเฉพาะซึ่งก็คือ XSL (Extensible Stylesheet Language)
ภาษา XML มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยแท็กเปิด และแท็กปิด เช่นเดียวกับภาษา HTML แต่ภาษา XML คุณสามารถสร้างแท็กรวมทั้งกำหนดโครงสร้างของข้อมูลได้เอง ซึ่งความสามารถตรงนี้ตัวภาษา ทำไม่ได้เพราะภาษา HTML ถูกกำหนดแท็กตายตัวโดย W3C หรือ World Wide Web Consortium อาจกล่าวได้ว่า XML เป็นส่วนเสริมของ HTML เพราะตัว XML ไม่สามารถแสดงผลได้ในตัวของมันเอง หากต้องการแสดงผลที่ถูกต้อง จะต้องมีการใช้ร่วมกับภาษาอื่น เช่น HTML,JSP, PHP , ASP หรือภาษาอื่น ๆ ที่สนับสนุน XML จะมีนามสกุลเป็น .XML สามารถสร้างขึ้นจากโปรแกรมประเภท Text Editor ใดก็ได้ เช่น Notepad,Editplus , DreamWeaver, MS Word เป็นต้น
สิ่งที่ถือได้ว่าเป็นเสน่ห์ของ XML นั้นจะเป็นความสะดวกในการจัดการด้านระบบการติดต่อกับผู้ใช้จากโครงสร้างของข้อมูล เราสามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาแสดงผลและประมวลผลร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า รายการสั่งซื้อ ผลการวิจัย รายการรับชำระเงินข้อมูลเวชระเบียน รายการสินค้าหรือข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ก็สามารถแปลงให้เป็น XML ได้ และในส่วนของข้อมูลสามารถปรับให้เป็น HTML ได้ สำหรับประโยชน์ในการใช้งานนั้น เราจะสามารถนำมาใช้สำหรับการเข้าถึงระบบข้อมูลขนาดใหญ่ใช้กับระบบเครือข่ายในองค์กร หรืออินเตอร์เนตเพื่อดูข้อมูลหรือเรียกใช้ข้อมูลที่ให้การแสดงผลทางหน้าจอที่รวดเร็ว
จุดเด่นของ XML
1. ดูเอกสารได้ง่าย สะดวก และได้ผลดีเหมือน HTML
2. สนับสนุนการประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ และสนับสนุนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
3. เขียนง่าย
4. อ่านได้ด้วยมนุษย์ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมหรือเครื่องมือช่วยแปล
5. การเขียน XML ทำได้ด้วยการใช้ Text editor ทั่วไป และไม่ต้องการเครื่องมือที่ซับซ้อน
6. ใช้เป็นตัวควบคุมข้อมูล (Meta data) จึงเป็นแนวทางในการขนส่งข้อมูล และสร้างการเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชั่นได้ง่าย
7. สนับสนุน UNICODE ทำให้ใช้ได้กับหลากหลายภาษา และผสมกันได้หลากหลายภาษา
8. ดึงเอกสาร XML มาใช้งานได้ง่าย และใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นได้ง่าย เช่น โปรแกรม DB2, Oracle, SAP เป็นต้น
9.นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายได้มาก เช่น E-Business, EDI, E-Commerce, การจัดการ Supply chain / Demand chain management, การดำเนินการแบบ intranet และ Web Base Application
_____________________________________________
Widget
คือ ชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแบบต่าง ๆ เช่น เป็นหน้าต่าง เล็ก ๆ (windows),(popup) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมหรือสั่งการเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นเรียกใช้งานเครื่องคิดเลข ในวินโดวส์ ลีนุกซ์ หรือ โอเอสทู เป็นต้น โดยที่สามารถสั่งงานให้โปรแกรมย่อย ๆ เหล่านั่นทำงานด้วยการกดปุ่มคำสั่ง ด้วยเมาส์ แทนการพิมพ์ชุดคำสั่ง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกง่ายดาย
_____________________________________________
Gadget
มีสองความหมายด้วยกัน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมขนาดเล็กที่ช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนชอตคัต เช่น การบอกเวลาจากนาฬิกา การติดตามข่าวสาร ฟังวิทยุ หรือตรวจสอบราคาหุ้น โดยแกดเจ็ตจะช่วยย่นเวลาในการเปิดเบราว์เซอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลทีละรายการ เปลี่ยนเป็นการนำข้อมูลดังกล่าวมาไว้บนเดสต์ทอป ในอีกความหมายถึง แกดเจ็ต คือ อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้กับโน้ตบุ๊กหรืออาจจะหมายถึงของเล่นไฮเทคที่มีความล้ำยุค
Gadget Microsoft ได้แบ่ง Gadget ออกเป็น 3ประเภท ได้แก่
1. Web gadgets คือ โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บไซต์ เช่น Live.com หรือ Spaces.Live.com
2. Sidebar gadgets คือ โปรแกรมที่ทำงานบน Desktop หรือที่วางอยู่ด้านข้างของ Window (Windows Sidebar)
3. SideShow gadgets คือ
อุปกรณ์ที่ทำงานแสดงผลรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น
ฝาด้านนอกของ Laptop หรือ panel บนคีย์บอร์ดและมือถือ
_____________________________________________
Mashup
เป็นวิธีการหนึ่งในการการสร้าง application
( Rich Application, Web Application ) ด้วยการดึงข้อมูลจากแหล่งที่มา ( Sources : Web Site .. etc. ) หลายๆแหล่ง มารวมกันเพื่อสร้าง application ใหม่ๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น Google Map เป็นต้น ถ้าเปรียบกำหารแต่งเพลง ก็คือการ mix เพลง นั่นเอง ซึ่งจะเรียกว่าการ MashUp
เนื้อหา ( Content ) ที่ใช้งานในการทำ MashUp นั้นจะเรียกใช้ผ่าน Public Interface หรือ API ที่ผู้ให้บริการ ( Provider ) จัดเตรียมไว้ให้ โดย API เหล่านี้จะมีการรับส่งข้อมูลในลักษณะที่เป็น Web Feed เช่น RSS, Atom, Web Services และ Screen Scraping เป็นต้น
Vendor เจ้าใหญ่ๆ ให้ความสนใจในการทำ MashUp อย่างกว้างขวาง เช่น Microsoft, Google, eBay, Amazon, Flickr และ Yahoo โดย vendor เหล่านี้จะเตรียมโปรแกรมช่วยในการทำMashUp ซึ่งเรียกว่า MashUp Editor
MashUp Editor คือ WYSUWYG ของ MashUp นั่นเอง โดยเครื่องมือตัวนี้จะมีหน้าตามเป็น Graphic User Interface ใช้งานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของ MashUp Editor เช่น
http://mashupawards.com/create/
Microsoft :: http://www.popfly.com/
Yahoo :: http://pipes.yahoo.com/pipes/
Google MashUp Editor :: http://googlemashups.com/
ประเภทของ MashUp
MashUp แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Consumer MashUp
2. Data MashUp
3. Business MashUp
1.Consumer MashUp
เป็นการรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มารวมกันไว้ แล้วทำซ่อนข้อมูลเหล่านี้ด้วยการแสดงผลแบบ GUI ตั้วอย่างที่เห้นได้ชัดเจนคือ Google Map นั่นเอง
2.Data MashUp หรือ Enterprise MashUp
เป็นการรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มารวมกันไว้ โดยจะไม่มีส่วนแสดงผล เช่น RSS, Atom เป็นต้น ถ้าเป็น website ก็เช่น www.rssthai.com
3.Business MashUp
เป็นการรวมทั้ง Consumer MashUp และ Data MashUp เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นระบบ business application
_____________________________________________
Artificial Intelligence
Artificial Intelligence (AI)ระบบปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ต้องรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้ อย่างรวดเร็วภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือ หมายถึงการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ทำงานได้เหมือนเสมือนมนุษย์ ซึ่งการทำงาน มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสมองมนุษย์ฉนั้นความสามารถของคอมพิวเตอร์ทางด้านสติปัญญา และด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
สิ่งที่สำคัญทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีสองประการคือ
1. ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
2. ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้นความหมายของปัญญาประดิษฐ์ จึงหมายถึงความสามารถของระบบการทำงานคล้ายคลึง กับสติปัญญาของมนุษย์จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิฐ์
วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์(Evolution of AI) ได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่1950โดยมีลักษณะเป็นตัวประมวลผลโปรแกรมการใช้งานซึ่ง ทำงานภายใต้สัญลักษณ์และเครื่องหมายมากกว่าเรื่อง ของตัวเลข
ปัญญาประดิษฐ์พัฒนามาจากหลายสาขาวิชา
ประกอบด้วย
1.สาขาวิชาคริตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพิสูจน์ ทฤษฏีต่างๆในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้านเกมส์ต่างๆ เช่นการเล่นOXหมากรุกฝรั่ง
2.สาขาจิตรวิทยาในเรื่องการฟังและการวิเคราะห์ปัญหา ทางจิตซึ่งการพัฒนาสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นโดนผ่านผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมหมากรุกฝรั่งในช่วงแรกๆเป็นโปรแกรมที่ได้มาจากการใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการทำงานโดยการคำนวณผลกระทบของการเดินแต่ละครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเดินแบบไหนจึงจะดีที่สุดซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ป็นวิธีการเล่นของมนุษย์เพราะวิธีการเดินแต่ละก้าวของมนุษย์ล้วนมาจากประสบการณ์และกฏเกณฑ์การปฏิบัติฉนั้นถ้าโปรแกรมหมากรุกอาศัยการทำงานแบบกฏเกณฑ์ด้านการปฏิบัติก็หมายถึงเทคนิคด้านการประดิษฐ์
ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์
ประกอบด้วยระบบต่างๆ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)
ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet)
ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)
เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)
เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents)
ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
2. Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)
ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน
การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน (Putting Expert Systems to work) สามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ด้านการผลิต (Production) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดตารางการผลิตและการกำหนดตารางการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุ ตลอดจนการกำหนดโอกาสในการนำเอากากวัสดุไปผลิตอีกครั้ง
2. การตรวจสอบ (Inspection) ผู้ผลิตสามารถใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ที่เป็นระบบจับภาพซึ่งจะสามารถฉายภาพความเสียหายของวัตถุด้วยการใช้ลำแสงเพื่อป้องกันในการแพร่กระจายความเสียหายไปที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถช่วยทำรายงานด้านการรับประกันคุณภาพที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนของวัตถุในเรื่องความชำรุดเสียหายและวิธีการในการแก้ไขด้วย
3. การประกอบชิ้นส่วน (Assembly) ระบบผู้เชี่ยวชาญ XCONสามารถช่วยผู้ผลิตในการสร้างโครงร่างคำสั่งซื้อของลูกค้าไปเป็นแผนผังภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ
4. ด้านบริการ (Field service) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้จัดการด้านการบริการและพนักงานซ่อมแซมทั่วไป (ช่าง) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยให้ช่างเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ เช่น เครื่องจักรกำลังเดินเครื่องหรือไม่ ความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือเกิดกับส่วนใด ซึ่งเป็นการช่วยในการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน
5. การตรวจสอบบัญชี (Auditing) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีในเรื่องกระบวนการตรวจสอบบัญชีเพื่อความถูกต้อง เช่น สำหรับบัญชีลูกหนี้ (Account receivable) จะมีการป้อนข้อมูลลูกหนี้เข้าไปในระบบผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ได้จากระบบคือการเสนอแนะกระบวนการในการตรวจสอบนั่นเอง
6. ด้านบุคคล (Personnel) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยแผนกบุคคลในการเตือนผู้ใช้ในเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของบริษัท และยังช่วยในการสร้างคู่มือให้แก่พนักงาน
7. ด้านการตลาดและการขาย (Marketing and sales) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถทำงาน 6 งานพร้อมกันภายในไม่กี่วินาที ในขณะที่พนักงาน 1 คน ใช้เวลา 20-30 นาทีในการทำงาน 1 งาน
การพยากรณ์อากาศ
นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน สหราชอณาจักร ได้ถูกว่าจ้างโดยบริษัทแท่นขุดเจาะน้ำมันที่อยู่ชายฝั่งของอังกฤษให้ประดิษฐ์
“นักพยากรณ์อากาศปัญญาประดิษฐ์” หรือ “artificial weatherperson” เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานสภาวะอากาศที่ไม่ชัดเจนของ
นักพยากรณ์อากาศ อันเนื่องมาจากภาษาที่พวกเขาใช้มีความคลุมเครือและแปรผันอย่างมากสำหรับการรายงานโดยนักพยากรณ์คนละคน Ehud Reiter
ผู้นำทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน กล่าว จากการตรวจสอบเปรียบเทียบรายงานสภาวะอากาศที่รายงานโดยนักพยากรณ์อากาศกับข้อมูลดิบที่พวกเขาใช้อ้างอิงอยู่ Reiter และทีมวิจัยของเขาพบว่า รายงานพยากรณ์อากาศโดยนักพยากรณ์ต่างคนกันมีความแปรผันของการเลือกใช้คำศัพท์อย่างไม่น่าเชื่อ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพวกนักพยากรณ์เหล่านี้กล่าวถึง สภาพอากาศในเวลา “กลางคืน” บางคนหมายถึง เวลาประมาณ 6 โมงเย็น ในขณะที่บางคนหมายถึงเวลาดึกใกล้ๆเที่ยงคืน อีกทั้ง คำว่า “เช้าสายๆ (Late morning)” นั้นก็ค่อนข้างกำกวม เพราะนั่นหมายถึงเวลาใดก็ได้ในช่วงระหว่าง 9 โมงเช้าถึงเที่ยง
เพื่อขจัดความไม่แน่นอนของการเลือกใช้ภาษาเหล่านี้ ทีมนักวิจัยได้เขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง Natural Language Generation (NLG) ซอฟต์แวร์เพื่อทำการแปรข้อมูลดิบที่ได้จากการพยากรณ์อากาศเป็นรายงานสภาพอากาศที่ถูกต้อง ชัดเจนและไม่กำกวม
Natural Language Generation (NLG) หรือ Natural Language Processing (NLP) เป็นสาขางานวิจัยสาขาย่อยของ Artificial Intelligence ที่ผนวกความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (linguistic) และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science)
เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันตามธรรมชาติได้ เพื่อที่ว่า ในที่สุด เราจะสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเสมือนกับการสั่งคนๆหนึ่ง
และอีกไม่นาน คาดว่า ระบบ AI ที่คล้ายๆกับที่ใช้ในการรายงานสภาวะอากาศนี้ อาจจะถูกนำมาใช้ได้ในกรณีของใบสั่งยาของแพทย์ เพื่อป้องกันการใช้คำที่กำกวมในการอธิบายสภาพของคนไข้ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนอีกด้วย
หุ่นยนต์ ASIMO
ASIMO หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า
โครงสร้างด้านข้างของอาซิโมอาซิโม คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของ
บริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต
บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนิยามของชื่อ ASIMO ว่าย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ
นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า อะชิโมะ (ญี่ปุ่น: 脚も ashimo ?) ที่แปลว่า "มีขาด้วย"
อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี (P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น
ทีมวิศวกรของบริษัทฮอนด้า ร่วมกันคิดค้นและพัฒนาความท้าทายการทำงานในรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งหลังจากได้พัฒนาศักยภาพของเครื่องยนต์อเนกประสงค์ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ในรุ่นต่าง ๆ ซึ่งความท้าทายในรูปแบบใหม่ของทีมวิศวกรบริษัทฮอนด้าคือ การพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ให้มีขีดความสามารถในการเดิน วิ่ง หรือเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ หุ่นยนต์อาซิโมจึงถือกำเนิดขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำการศึกษาและวิจัยโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อย่างละเอียด เพื่อให้หุ่นยนต์อาซิโมและมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยเริ่มทำการศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเดินได้ด้วยขาทั้ง 2 ข้าง ในตระกูล P-Series เรื่อยมาจนกระทั่งมาสิ้นสุดที่อาซิโม
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ถือเป็นการคิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามและความมุ่งมั่นในการศึกษาและวิจัยของทีมวิศวกรของ
บริษัทฮอนด้า หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคิดสร้างสรรค์และความยึดมั่นในความคิดที่หุ่นยนต์สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้นั้น เป็นแรงผลักดันให้ทีมวิศวกรของบริษัทฮอนด้า สามารถสร้างหุ่นยนต์อาซิโมให้มีความเป็นอยู่ร่วมกับมนุษย์และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่สังคม นักวิทยาศาสตร์และทีมวิศวกรผู้สร้างอาซิโมยังได้รับแรงบันดาลใจจากนิยายวิทยาศาสตร์ ทำให้หุ่นยนต์อาซิโมในศตวรรษที่ 21 ที่เกิดจากจินตนาการของไอแซค อสิมอฟ กลายเป็นความจริง สามารถมีสมองและความคิดได้เช่นเดียวกับมนุษย์
_____________________________________________
Phishing
ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงทางการเงิน เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นผลกระทบได้ง่าย
คำว่า Phishing เป็นคำพ้องเสียงจากคำว่า Fishing ซึ่งหมายถึงการตกปลา หากจะเปรียบเทียบง่าย ๆ สามารถจินตนาการได้ว่า เหยื่อล่อที่ใช้ในการตกปลา ก็คือกลวิธีที่ผู้โจมตีใช้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งเหยื่อล่อที่เด่น ๆในการหลอกลวงแบบ Phishing มักจะเป็นการปลอมอีเมลหรือปลอมหน้าเว็บไซต์ที่มี
ข้อความซึ่งทำให้ผู้เสียหายอ่านแล้วหลงเชื่อ เช่น ปลอมอีเมลว่าอีเมลฉบับนั้นถูกส่งออกมาจากธนาคารที่ผู้ เสียหายใช้บริการอยู่ โดยเนื้อความในอีเมลแจ้งว่า ขณะนี้ธนาคารมีการปรับเปลี่ยนระบบรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและธนาคารต้องการให้ลูกค้า เข้าไปยืนยันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทาง ลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เป็นต้น
เมื่อผู้เสียหายคลิกที่ลิงก์ดังกล่าวก็จะพบกับหน้า
เว็บไซต์ ปลอมของธนาคารซึ่งผู้โจมตีได้เตรียมไว้
เมื่อผู้เสียหายเข้าไปล็อกอิน ผู้โจมตีก็จะได้ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านของผู้เสียหายไปในทันที ในหลาย ๆ ครั้งการหลอกลวงแบบPhishingจะอาศัยเหตุการณ์ สำคัญที่เกิดในช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสของ
การหลอกลวงสำเร็จ เช่น อาศัยช่วงเวลาที่มีภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด โดยปลอมเป็นอีเมลจากธนาคารเพื่อขอรับบริจาค เป็นต้น
หน้าเว็บไซต์ปลอมบางหน้าจะใช้วิธีการที่แยบยล นั่นคือการฝังโทรจันที่สามารถขโมยข้อมูลที่ต้องการมากับหน้าเว็บไซต์ปลอมนั้นด้วย เช่น โทรจันที่ทำหน้าที่เป็น Key-loggerซึ่งจะคอยติดตามว่าผู้เสียหายพิมพ์คีย์บอร์ด อะไรบ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายหลงกลกดลิงก์ตามเข้ามา ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมก็จะติดโทรจันชนิดนี้ไปโดยอัตโนมัติ และหากผู้เสียหายทำการล็อกอินเข้าใช้งานระบบใด ๆ ข้อมูลชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ของระบบนั้นก็จะถูกส่งไปยัง ผู้ไม่ประสงค์ดี
นอกจาก Phishing แล้วยังมีเทคนิคการหลอกลวงอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันซึ่งแต่ละวิธีก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น
Vishing และ Smishing:
หลายคนคงเคยได้ยินหรือเคยประสบกับแก๊งคอล เซ็นเตอร์ พฤติกรรมของแก๊งเหล่านี้เข้าข่ายของ Vishing โดยตัวอักษร ‘V’ นี้มาจากคำว่า Voice ซึ่งแปลว่าเสียง ดังนั้น Vishing จึงเป็นการใช้ Voice ร่วมกับ Phishing ซึ่งมักเป็นการหลอกลวงให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางโทรศัพท์นั่นเอง แต่หากเป็น Smishing ก็จะเป็นการหลอกลวงโดยใช้ SMS เช่น การได้รับ SMS อ้างว่ามาจากธนาคารเพื่อแจ้งลูกค้าว่า บัญชีของท่านถูกระงับ กรุณาติดต่อกลับที่หมายเลข ดังต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อโทรตามหมายเลขที่ระบุไว้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ Vishing ต่อไป เป็นต้น
Spear-phishing และ Whaling:
อย่างที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นเกี่ยวกับกลวิธีของ Phishing ในการนำไปใช้งาน ผู้ไม่ประสงค์ดีบางคน ก็ได้เล็งองค์กร หรือบุคคลที่เป็นเป้าหมายไว้ชัดเจน อยู่แล้ว บุคคลที่มักตกเป็นเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในองค์กร มีความสามารถหรือรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กร การหลอกลวงแบบ Phishing ที่มีเป้าหมายชัดเจนนี้มีคำเรียกเฉพาะคือ Spear-phishing และหากเป้าหมายของ Spear-phishing นี้เป็นบุคคลที่มีตำแหน่งสูงหรือเป็นบุคคลสำคัญในองค์กร จะเรียกการหลอกลวงนี้ว่า Whaling
ข้อแนะนำการลดโอกาสไม่ให้ถูกหลอกลวงได้
-ไม่เปิดลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะ ถูกหลอกลวง เพราะบางครั้งลิงก์ที่มองเห็นในอีเมลว่า เป็นเว็บไซต์ของธนาคาร แต่เมื่อคลิกไปแล้วอาจจะไป ที่เว็บไซต์ปลอมที่เตรียมไว้ก็เป็นได้ เนื่องจากในการ สร้างลิงก์นั้นสามารถกำหนดให้แสดงข้อความหรือรูปภาพได้ตามต้องการ ดังนั้นบางเว็บไซต์ปลอมจึงทำ URL ให้สังเกตความแตกต่างจาก URL จริงได้ยาก
พึงระวังอีเมลที่ขอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะหากเป็นอีเมลที่มาจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ธนาคารหลายแห่งได้แจ้งอย่างชัดเจนว่า ธนาคารไม่มีนโยบายในการขอให้ลูกค้าเปิดเผยเลขประจำตัว หรือข้อมูลที่มีความสำคัญอื่น ๆ ผ่านทางอีเมลโดยเด็ดขาด
ไม่เปิดลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เนื่องจากในปัจจุบัน
ผู้โจมตีมีเทคนิคมากมายในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริง ๆ หากต้องการเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้น ขอให้พิมพ์ URL ด้วยตัวเอง
- สังเกตให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่ใช้งานเป็น HTTPS ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น เลขบัตรเครดิต หรืออื่น ๆ
- ลบอีเมลน่าสงสัยออกไป เพื่อไม่ให้พลั้งเผลอกดเปิดครั้งถัดไป
- ติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus, Anti-Spam และ Firewall เนื่องจากผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการติดตั้ง Firewall คือสามารถทำการยับยั้งไม่ให้โทรจันแอบส่งข้อมูลออกไปจากระบบได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ควรหมั่นศึกษาและอัพเดทโปรแกรมดังกล่าวให้เป็นรุ่นปัจจุบันเสมอ
หากพบเห็นเว็บไซต์หลอกลวงซึ่งมีจุดประสงค์ในการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล สามารถแจ้งเหตุภัยคุกคามได้ที่เจ้าของบริการเหล่านั้น หรือส่งอีเมลมาที่ report@thaicert.or.th ตลอด 24 ชั่วโมงหรือโทร 02-142-2483 ในเวลา 8.30-17.30 ทุกวันทำการ
ข้อแนะนำที่ผู้เสียหายควรปฏิบัติตามโดยทันที
ในกรณีที่เป็นข้อมูลสำคัญขององค์กร ผู้เสียหายควรแจ้งเรื่องไปยังบุคคลที่เหมาะสมรวมทั้งผู้ดูแลระบบ เพื่อเป็นการเตรียมมาตราการปกป้ององค์กรต่อไป
ในกรณีที่เป็นข้อมูลบัญชีธนาคาร ผู้เสียหายควรแจ้งเรื่องไปยังธนาคารที่ใช้บริการ และทำการปิดบัญชีที่คาดว่าสามารถถูกขโมยได้ หรือเฝ้าระวังการใช้งาน บัญชีอย่างต่อเนื่อง ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านในทุกระบบ ที่ใช้รหัสผ่านเดียวกัน และไม่กลับมาใช้รหัสผ่านนั้นอีก
FTP
แหล่งที่มาดีๆจาก > http://www.manager.co.th/RSS/
> http://www.bangkokbiznews.com/xml_kt/rsshelp/prss.html
> http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2129-xml-คืออะไร.html
> th.m.wikipedia.org/wiki/วิจิท
> http://www.satriwit3.ac.th/external_links.php?links=6058
> th.m.wikipedia.org/wiki/Gadget
> www.mashup.in.th/mashup-คืออะไร/
> https://sites.google.com/site/wanwayja/kerd-khwam-ru-ni-hxngreiyn/-artificial-intelligence-ai
> https://www.thaicert.or.th/papers/general/2012/pa2012ge007.html
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
t test
การทดสอบที (t-test)
การทดสอบที (t-test) เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า “student” ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า Student t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม (อรุณี อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)
การใช้ t-test แบบ Independent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน ใช้สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t-test for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมี 2 กรณี (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Two Independent Samples)
t-test (Independent)
- กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กัน(เป็นอิสระต่อกัน)
- ค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
- กลุ่มตัวอย่างได้มาอย่างสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
- ไม่ทราบความแปรปรวนของแต่ละประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551, หน้า 58)
การใช้ t- test แบบ dependent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว
ได้แก่ สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t-test for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2540, หน้า 240) กล่าวว่า ข้อมูลที่เรียกว่า คู่(pair observation) นั้นมีหลายประเภท แต่คุณสมบัติสำคัญจะต้องเกี่ยวข้องกัน(Dependent Sample)มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ ข้อมูลที่สอบหรือวัดจากคนเดียวกัน 2 ครั้ง
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ t-test (Mean One Sample Test) กรณีมีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม(One Sample)
- ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค(Interval Scale) หรือมาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
- กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มได้จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
- ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
- ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551, หน้า 55)
ประเภทที่สอง เป็นประเภทคุณลักษณะของตัวอย่างที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดเลือกมาเป็นคู่ๆ(math-pairs) เช่น เด็กฝาแฝด สามีภรรยา เชาว์ปัญญาเท่ากัน รสนิยมเดียวกัน เป็นต้น ตอนเลือกมาจะเป็นคู่ๆ แต่ตอนทำการทดลอง หรือศึกษาจะต้องสุ่มอีกครั้ง การทดสอบความแตกต่างจะใช้ t- dependent
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน(Two Related-Samples)
t-test (Dependent or Matched Pair Sample)
- ข้อมูล 2 ชุดได้มาจากลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หรือมาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน
- ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
- กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
- ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551, หน้า 56-57)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 381) สรุปไว้ว่า สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว มี 2 ตัว คือ Z-test กับ t-test
Z-test ใช้ในกรณีที่ ทราบความแปรปรวนของประชากร(µ) ถ้าไม่ทราบจะใช้ t-test แต่มีตำราหรือนักสถิตหลายท่าน เสนอว่า หากไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรถ้ามีตัวอย่างขนาดเล็ก น้อยกว่า 30 ให้ใช้ t-test แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ คือ มากกว่า 30 จะใช้ Z-test ก็ได้เป็นการใช้เพื่ออนุโลมกัน มิใช่ว่าจะใช้แทนกันได้เลย เพราะว่า ค่าวิกฤติของ t-test ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ ส่วนของ Z-test ไม่ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ จากตารางการแจกแจงแบบ t จะเห็นว่า เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น ค่า t จะใกล้เคียงกับค่า Z และเกือบจะเท่ากัน เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเท่ากับ 120 เป็นต้นไป ฉะนั้น ถ้าไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร จะใช้ Z-test แทน t-test
สิทธิ์ ธีรสรณ์(2552, หน้า 152-153) สรุปไว้ว่า ในกรณีที่เป็นสถิติอิงพารามิเตอร์ ถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ก็ใช้ t-test ซึ่งแบ่งเป็น t-test for Independent Means สำหรับการเปรียบเทียบสองกลุ่ม ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ก็ใช้ t-test for Dependent Means ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนมากกว่าสองกลุ่ม ก็ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance หรือ ANOVA)
สถิติอิงพารามิเตอร์เพื่อศึกษาความแตกต่าง
การวิเคราะห์ความแตกต่าง(Analysis Of differences) กรณีประชากรสองกลุ่ม
นงลักษณ์ วิรัชชัย(2552, หน้า 5) สรุปไว้ว่า สถิติอนุมานเบื้องต้นใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยอาจเปรียบเทียบได้ทั้งค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน สัดส่วน สหสัมพันธ์ สถิติที่ใช้แตกต่างกันตามลักษณะข้อมูล เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ รู้ความแปรปรวนของประชากรใช้ Z-test เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กใช้ t-test ซึ่งมีสูตรการคำนวณแยกตามลักษณะความแปรปรวนของกลุ่มประชากรว่ามีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากัน และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนสองกลุ่มใช้ F-test การวิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มใช้ Z-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างของสหสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใช้ Z-test หรือ X 2
สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตามจำนวนกลุ่มและระดับการวัดมาตราอัตราส่วน(ค่าเฉลี่ย,S2)
จำนวนกลุ่ม
|
สถิตที่ใช้ทดสอบ
|
กลุ่มเดียว
| |
- ขนาด น้อยกว่า 30
|
t-test
|
- ขนาด มากกว่า 30
|
Z-test
|
สองกลุ่ม
| |
-2 กลุ่มไม่เป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มน้อยกว่า 30
|
Paired t-test
t-test แบบ Dependent |
-2 กลุ่มเป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มน้อยกว่า 30
|
t-test แบบ Independent
|
-2 กลุ่ม เป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 30
|
Z-test
|
มากกว่า 2 กลุ่ม
| |
-มากกว่า 2 กลุ่มอิสระกัน
| One Way ANOVA |
-มากกว่าสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
|
One Way ANOVA
Repeated measure(แบบการวัดซ้ำ) |
ที่มา เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย(2540, หน้า 44-45)
ปัญหาการเลือกใช้สถิติ
1. ผู้วิจัยเน้นการวิเคราะห์เฉพาะส่วนย่อย ทำให้ขาดผลการวิเคราะห์ในลักษณะภาพรวม เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประชากรเป็นรายคู่ทีละคู่โดยใช้ t-test แทนที่น่าจะใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประชากรหลายๆกลุ่มพร้อมกันไป โดย F-test
2. เลือกใช้สถิติที่ฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้น เช่น การใช้ Z-test โดยไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร(Population variance) การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) ของข้อมูลที่วัดเป็นความถี่ เป็นต้น
ขอบคุณที่มาดีๆ
จาก https://www.gotoknow.org/posts/399528
ขอบคุณที่มาดีๆ
จาก https://www.gotoknow.org/posts/399528
E1 E2
E1 E2
E1 E2 คือ การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภทคือ
พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) กำหนด ค่าประสิทธิภาพเป็น E1 =Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์) กำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น (Do the thing right=Efficiency)
E2 =Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์)
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ
1. ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือประเมินผลต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของผู้เรียน เรียกว่า “กระบวนการ” (Process) ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การทำโครงการ หรือทำรายงานเป็นกลุ่ม และรายงานบุคคล ได้แก่งานที่มอบหมาย และกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้
2. ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย (Terminal Behavior) คือประเมินผลลัพธ์ (Product) ของผู้เรียน โดยพิจารณาจากการสอบหลังเรียนและการสอบไล่ ประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยน พฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้ผลเฉลี่ยของคะแนนการทำงานและ การประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ต่อ ร้อยละของผลการประเมินหลังเรียนทั้งหมด
E1/E2 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของ ผลลัพธ์
ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำแบบฝึกปฏิบัติ หรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80% การที่จะกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่าเท่าใดนั้น ให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความพอใจโดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จำแนกเป็น วิทยพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และ ทักษพิสัย (Skill Domain)
ในขอบข่ายวิทยพิสัย (เดิมเรียกว่า พุทธิพิสัย) เนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำมักจะตั้งไว้สูงสุดแล้วลดต่ำลงมาคือ 90/90 85/85 80/80 คำว่า พุทธิ เป็นคำในพระพุทธศาสนา แปลว่า ความรู้แจ้ง ครอบคลุมทั้งความรู้ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมจึงมีความหมายใหญ่กว่าคำว่า Cognitive ที่หมายถึงความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินตามแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy ซึ่งตรงกับคำว่า “วิทยา” มากกว่า ผู้จึงใช้ วิทยพิสัย แทน พุทธิพิสัย เป็นคำแปลของ Cognitive Domain ปัจจุบัน Bloom’s Taxonomy ได้เปลี่ยนไปจากเดิมคือ Knowledge, Comprehension, Application, Analysis, Synthesis, Evaluation เป็น Remembering, Understanding, Applying, Analyzing, Evaluating and Creating
วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ
วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ กระทำได้ 2 วิธี คือ โดยใช้สูตรและโดยการคำนวณธรรมดา
โดยใช้สูตร เมื่อ E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ
วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ
E1 คือ คะแนนรวมของแบบฝึกปฏิบัติ กิจกรรมหรืองานที่ทำระหว่างเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือออนไลน์
A คือ คะแนนเต็มของแบบฝึกปฏิบัติ ทุกชิ้นรวมกัน
N คือ จำนวนผู้เรียน
เมื่อ E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ คือ คะแนนรวมของผลลัพธ์ของการประเมินหลังเรียน
B คือ คะแนนเต็มของการประเมินสุดท้ายของแต่ละหน่วย ประกอบด้วยผลการสอบหลังเรียนและคะแนนจากการประเมินงานสุดท้าย
N คือ จำนวนผู้เรียน
แนวคิดการหาประสิทธิภาพที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ และสูตร E1/E2 เป็นลิขสิทธิ์ของ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไม่ว่าจะเขียนในรูป E1:E2 E1ต่อE2 หรือในรูปแบบใดจะนำไปดัดแปลงเป็นอย่างอื่นเช่น P1/P2 X1/X2 และเปลี่ยนแปลงสูตร เช่น จาก SF เปลี่ยนเป็น SY กระทำไม่ได้ ลิขสิทธิ์นี้ รวมถึงการนำไปจัดทำโปรแกรมคำนวณทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ทรงลิขสิทธิ์คือ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไม่ได้เช่นกัน การตีความหมายผลการคำนวณค่า E1/E2 หลังจากคำนวณหาค่า E1 และ E2 ได้แล้ว ผู้หาประสิทธิภาพต้องตีความหมายของผลลัพธ์โดยยึดหลักการและแนวทางดังนี้ ความคลาดแคลื่อนของผลลัพธ์ ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ ได้ไม่เกิน .05 (ร้อยละ 5) จากช่วงต่ำไปสูง= ±2.5 นั่นคือผลลัพธ์ของค่า E1 หรือ E2 ที่ถือว่า เป็นไปตามเกณฑ์ มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน 2.5% และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5% หากคะแนน E1 หรือ E2 ห่างกันเกิน 5% แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำกับการสอบหลังเรียนไม่สมดุลกัน เช่น ค่า E1 มากกว่า E2 แสดงว่า งานที่มอบหมายอาจจะง่ายกว่า การสอบ หรือ หากค่า E2 มากกว่าค่า E1 แสดงว่า การสอบยากกว่าหรือไม่สมดุลกับงานที่มอบหมายให้ทำ จำเป็นที่จะต้องปรับแก้ หากสื่อหรือชุดการสอนได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างดีมีคุณภาพ ค่า E1 และ E2 ที่คำนวณได้จากการทดสอบประสิทธิภาพ จะต้องใกล้เคียงกันและห่างกันไม่เกิน 5% ซึ่งเป็นตัวชี้ที่จะยืนยันได้ว่า นักเรียนได้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่องตามลำดับขั้นหรือไม่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมขั้นสุดท้าย หรืออีกนัยหนึ่งต้องประกันได้ว่านักเรียนมีความรู้จริง ไม่ใช่ทำกิจกรรมหรือทำสอบได้เพราะการเดา การประเมินในอนาคตจะเสนอผลการประเมินเป็นเลขสองตัว คือ E1คู่E2 เพราะจะทำให้ผู้อ่านผลการประเมินทราบลักษณะนิสัยของผู้เรียนระหว่างนิสัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง คงเส้นคงวาหรือไม่ (ดูจากค่า E1 คือกระบวนการ) กับการทำงานสุดท้ายว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด (ดูจากค่า E2 คือผลลัพธ์) เพื่อประโยชน์ของการกลั่นกรองบุคลากรเข้าทำงาน 2.5% 82.50+ E1/E2 80/80 82.50/77.50 - 2.5% 77.50 83.40/81.50 ต้องปรับเพิ่ม E2 เพื่อยกเกณฑ์เป็น 85/85หรือ ลดค่าE1 เพื่อคงเกณฑ์ 80/80 81.85/89.35 ค่า E1 และห่างกันมาก ต้องปรับเพิ่ม E1 หรือลด E2 เพื่อให้ได้เกณฑ์ 85/85
ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:1
ก. การทดลอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 1-3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง และเด็กเก่ง ให้ดีขึ้น คะแนนที่ได้ในขั้นนี้จะประมาณ 50-60% ระหว่างทดลอบประสิทธิภาพ 1:1 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและทดสอบหลังเรียน นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น S-Stand O-Ongoing I-Inhale S-Smile SIFOS MOdel F-Focus
ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:10
ข. การทดลอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1 : 10) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6 – 12 คน (คละผู้เรียนที่เก่ง ปานกลางกับอ่อน) ระหว่างทดลอบประสิทธิภาพ 1:10 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ หลังจากทดลอบประสิทธิภาพให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและประเมินผลลัพธ์คือการทดสอบหลังเรียนและงานสุดท้ายที่มอบให้นักเรียนทำส่งก่อนสอบประจำหน่วย ให้นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้นคำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุง ในคราวนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั่นคือ E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60-70%
ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:100
ค. การทดลอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1 : 100) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียนทั้งชั้น (30 คนขึ้นไป แต่ไม่ต่ำกว่า 15 คน) ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพ 1:100 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ หลังจากทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามแล้ว ให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและทดสอบหลังเรียน นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพหากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น แล้วนำไปทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำกับนักเรียนต่างกลุ่ม อาจทดลอบประสิทธิภาพ 2-3 ครั้ง จนได้ค่าประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ปรกติไม่น่าจะทดลอบประสิทธิภาพเกณฑ์สามครั้ง ด้วยเหตุนี้ ขั้นทดสอบประสิทธิภาพ ภาคสนามจึงแทนด้วย 1:100 ปรกติให้ใช้กับผู้เรียน 30 คน แต่ในโรงเรียนขนาดเล็กอนุโลมให้ใช้กับนักเรียน 15 คนขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามควรใกล้เคียงกัน เกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจาก เกณฑ์ไม่เกิน 2.5% ก็ให้ยอมรับว่า สื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากค่าที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า -2.5 ให้ปรับปรุงและทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำ จนกว่าจะถึงเกณฑ์ จะหยุดปรับปรุงแล้วสรุปว่า ชุดการสอนไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือจะลดเกณฑ์ลงเพราะ “ถอดใจ” หรือยอมแพ้ไม่ได้ หากสูงกว่าเกณฑ์ไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับว่า สื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากค่าที่ได้สูงกว่าเกณฑ์เกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น เช่น ตั้งไว้ 80/80 หาค่าได้ 83.40/86.25 ก็ให้ปรับขึ้นเป็น 85/85 หรือ หาค่าได้ 88.75/91.20 ก็ปรับเกณฑ์เป็น 90/90 ตามค่าประสิทธิภาพที่ทดลอบประสิทธิภาพได้
ตัวอย่าง เมื่อทดสอบหาประสิทธิภาพแล้วได้ 83.5/85.4 ก็แสดงว่าสื่อหรือชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ 83.5/85.4 ใกล้เคียงกับเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้ แต่ ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ 75/75 เมื่อผลการทดสอบประสิทธิภาพเป็น 83.5/85.4 ก็ให้เลื่อนเกณฑ์ขึ้นมาเป็น 85/85
คำเตือน 1) ค่า E1/E2 เป็นค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนหรือบทเรียนแต่ละครั้ง ห้ามนำค่า E1/E2 มารวมกันแล้วรายงานเป็นค่า ค่า E1/E2 ของวิชาหรือกลุ่มสาระ
2) นักเรียนที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพแบบใดแบบหนึ่งมาแล้ว จะนำมาใช้ซ้ำอีกไม่ได้ หากปรากฏว่า มีการใช้นักเรียนคนเดิมหรือกลุ่มเดิมหรือว่า ผิด จะต้องทดลองใหม่
3) ห้ามทดสอบประสิทธิภาพกับนักเรียนที่เรียนเรื่องที่จะทดลองมาแล้ว
ข้อควรคำนึงในการทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน
1) การเลือกผู้เรียนเข้าร่วมการทดสอบประสิทธิภาพ ควรเลือกนักเรียนที่เป็นตัวแทนของนักเรียนที่ใช้สื่อหรือชุดการสอน ตามแนวทางการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง
2) การเลือกเวลาและสถานที่ทดสอบประสิทธิภาพ ควรหาสถานที่และเวลาที่ปราศจากเสียงรบกวน ไม่ร้อนอบอ้าว และควรทดสอบประสิทธิภาพในเวลาที่นักเรียนไม่หิวกระหาย ไม่รีบร้อนกลับบ้าน หรือไม่ต้องพะวักพะวนไปเข้าเรียนในชั้นอื่น
3) การชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการ ต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนและการจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน หากนักเรียนไม่คุ้นเคยกับวิธีการใช้สื่อหรือชุดการสอน
4) การรักษาสถานการณ์ตามความเป็นจริง สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพสอนภาคสนามในชั้นเรียนจริง ต้องรักษาสภาพการณ์ให้เหมือนที่เป็นอยู่ในห้องเรียนทั่วไป เช่น ต้องใช้ครูเพียงคนเดียว ห้ามคนอื่นเข้าไปช่วย ผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปช่วยเหลือเด็ก ต้องปล่อยให้ครูผู้ทดสอบประสิทธิภาพสอนแก้ปัญหาด้วยเอง หากจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือก็ให้ครูผู้สอนเป็นผู้บอกให้เข้า ไปช่วย มิฉะนั้นการทดลอบประสิทธิภาพสอนก็ไม่สะท้อนสถานการณ์จริงที่มีคนสอนเพียงคนเดียว
การดำเนินการสอนตามขั้นตอน
ดำเนินการสอนตามขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการทดลงแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และภาคสนาม หลังจากชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับสื่อ ชุดการสอน และวิธีการสอน แล้ว ครูจะต้องดำเนินการสอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบการสอน สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน ดำเนินตามขั้นตอน 5 ขั้น คือ
1) ทดสอบก่อนเรียน (2) นำเข้าสู่บทเรียน (3) ให้นักเรียนทำกิจกรรม กลุ่ม (4) สรุปบทเรียน (ครูสรุปเองหรือให้นักเรียนช่วยกันสรุปก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน) และ (5) สอบหลังเรียน
– สำหรับการสอนแบบอิงประสบการณ์ มี 7 ขั้นตอน คือ
(1) ประเมินก่อนเผชิญประสบการณ์ (2) ปฐมนิเทศ (3) เผชิญประสบการณ์หลัก ประสบการณ์รอง ตามภารกิจ และงานที่กำหนด (4) รายงานความก้าวหน้าของการเผชิญประสบการณ์หลักและรอง(5) รายงานผลสุดท้าย (6) สรุปการเผชิญประสบการณ์ และ (7) ประเมินหลังเผชิญประสบการณ์
การสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ อาจดำเนินตามขั้นตอน 7 ขั้นคือ
(1) สอบก่อนเรียน
(2) ศึกษาประมวลการสอน แผนกิจกรรมและเส้นทางการเรียน (Course Syllabus, Course Bulletin and Learning Route) (3) ศึกษาเนื้อหาสาระทีกำหนดให้แบบออนไลน์บนเว้ปหรือออฟไลน์ ในซีดีหรือตำรา คือจากแหล่งความรู้ที่กำหนดให้
(4) ให้นักเรียนทำกิจกรรมเดี่ยว (Individual Assignment) และกิจกลุ่มร่วมมือ (Collaborative Group)
(5) ส่งงานที่มอบหมาย (Submission of Assignment)
(6) สรุปบทเรียน (ครูสรุปเอง หรือให้นักเรียนช่วยกันสรุปก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน)
(7) สอบหลังเรียน
บทบาทของครูขณะทดลอบประสิทธิภาพ
-ต้องคอยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่านักเรียนทำหน้าฉงนเงียบหรือสงสัยประการใด
-สังเกตและปฏิสัมพันธ์ (Interactive Analysis) ของนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตปฏิบัติสัมพันธ์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นแล้ว เช่น Flanders Interactive Analysis (FIA), Brown Interactive Analysis (BIA), Chaiyong Interactive Analysis (CIA) พยายามรักษาสุขภาพจิต ไม่คาดหวังหรือเครียดกับความเหน็ดเหนื่อยที่ทุ่มเทในการผลิตชุดการสอน หรือเครียดกับการเกรงว่า ผล การทดสอบประสิทธิภาพจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เกรงว่า จะไม่ได้รับความร่วมมือจากนักเรียน
-สร้างบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง ครูต้องเป็นกันเองกับนักเรียน เวลาสอบก่อนเรียน ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศที่นักเรียนจะแสดงออกเสรี ไม่ทำหน้าเคร่งขรึมจนนักเรียนกลัว ต้องชี้แจงว่าการสอบครั้งนี้ไม่มีผลต่อการสอบไล่ปกติของนักเรียนแต่ประการใด
-ปล่อยให้นักเรียนศึกษาและประกอบกิจกรรมจากสื่อหรือชุดการสอนตามธรรมชาติ โดยทำทีว่า ครูไม่ได้สนใจจับผิดนักเรียน ด้วยการทำทีทำงานหรืออ่านหนังสือ
-หากสังเกตว่านักเรียนคนใดมีปัญหาระหว่างการทดสอบ อย่าให้ความสนใจเป็นพิเศษ แต่ให้บันทึกพฤติกรรมไว้เพื่อจำมาซักถามและพูดคุยกับนักเรียนในภายหลัง
บทบาทของครูภาคสนามกับนักเรียนทั้งชั้น
-ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ ที่นำเสนอทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมาแล้ว
-ครูต้องพยายามอธิบายประเด็นต่างๆ ที่ต้องการจะบอกนักเรียนอย่างชัดเจน
-เมื่อบอกให้นักเรียนลงมือประกอบกิจกรรมแล้ว ครูต้องหยุดพูดเสียงดัง หากประสงค์จะประกาศอะไรต้องรอจนเปลี่ยนกลุ่ม หรือไปพูดกับนักเรียนคนนั้นหรือกลุ่มนั้น ด้วยเสียงที่พอได้ยินเฉพาะครู กับนักเรียนครูต้องไม่พูดมากโดยไม่จำเป็น ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูจะต้องเดินไปตามกลุ่มต่างๆ เพื่อสังเกตพัฒนาการของนักเรียนดูการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม ความเป็นผู้นำผู้ตามและอาจให้ความช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มใดหรือคนใดที่มีปัญหา แต่ไม่ควรไปนั่งเฝ้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้นักเรียนอึดอัด เครียด หรือบางคนอาจแสดงพฤติกรรมเขื่องเพื่ออวดครู เมื่อจะให้นักเรียนเปลี่ยนกลุ่ม ครูควรชี้แจงให้นักเรียนเดินช้าๆ ไม่ต้องรีบเร่ง และให้หัวหน้าเก็บสื่อการสอนใส่ซองไว้ให้เรียบร้อยก่อนเปลี่ยนไปกลุ่มอื่นๆ ห้ามหยิบชินส่วนใดติดมือไป ยกเว้น “แบบฝึกปฏิบัติ” หรือ “กระดาษคำตอบ” ประจำตัวของนักเรียนเอง
การเปลี่ยนกลุ่มกระทำได้ 3 วิธี คือ (1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกกลุ่มหากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน (2) กลุ่มใดเสร็จก่อน ให้ไปทำงานในกลุ่มสำรอง (3) หากมี 2 กลุ่มทำเสร็จพร้อมกันก็ให้เปลี่ยนกันทันที หลังจากการทดสอบประสิทธิภาพสิ้นสุดลง ขอให้แสดงความชื่นชมที่นักเรียนให้ความร่วมมือ และประสบความสำเร็จในการเรียนจากสื่อหรือชุดการสอน 8) หากทำได้ ให้แจ้งผลการทดสอบหลังเรียนให้นักเรียนทราบเพื่อให้ประสบการณ์ที่เป็นความสำเร็จ
ปัญหาจากการทดสอบประสิทธิภาพ การประเมินประสิทธิภาพตามระบบการสอน “แผนจุฬา” ที่ยึดแนวทางประเมินแบบสามมิติ คือ (1) การหาพัฒนาการทางการเรียนคือผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (2) การหาประสิทธิภาพทวิผลคือ กระบวนการควบคู่ผลลัพธ์โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E1/E2 (Efficiency of Process/Efficiency of Products) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนที่เป็นกระบวนการและผลการเรียนที่เป็นผลลัพธ์ และ (3) การหาความพึงพอใจของผู้เรียน โดยการประเมินคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้สอนและผู้เรียน หลังจากเวลาผ่านไปมากกว่า 30 ปี ได้พบปัญหาที่พอสรุปได้ ประการ นักวิชาการรุ่นหลังนำแนวคิดทดสอบประสิทธิภาพที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เมื่อพ.ศ. 2516 และได้เผยแพร่อย่างต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 มาเป็นของตนเอง โดยเขียนเป็นบทความหรือตำราแล้วไม่มีการอ้างอิง มีจำนวนมากกว่าร้อยรายการ ทำให้นิสิตนักศึกษารุ่นหลังไม่ทราบที่มาของการทดสอบประสิทธิภาพ จึงทำให้มีผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทฤษฎี E1/E2 เป็นจำนวนมาก บางสำนักพิมพ์ได้นำความรู้เรื่องการสอนแบบศูนย์การเรียน ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไปพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 และมีรายได้มหาศาล นักวิชาการนำ E1/E2 ไปเป็นของฝรั่ง
เช่น ระบุว่า การหาประสิทธิภาพ E1/E2 เกิดจากแนวคิด Mastery Learning ของ Bloom นักวิชาการไม่เข้าใจหลักการของการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ เช่น เสนอแนะให้ตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ (เช่น E1/E2 =70/70) หลังจากตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำแล้ว เมื่อหาค่า E1/E2 ได้ สูงกว่า ก็ประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่า สื่อหรือชุดการสอนของตนมีประสิทธิภาพมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งที่จริงเป็นเพราะตนเองตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำไปแทนที่จะ ปรับเกณฑ์ให้สูงขึ้นอันเป็นผลจากคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอน ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของ E1 และ E2 ทั้งสองค่าควรได้ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ แปรปรวนหรือแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (แตกต่างกันได้ไม่เกิน ±2.5 ของค่า E1 และ E2 ซึ่งจะมีผลทำให้ค่ากระบวนการ E1ไม่สูงกว่าค่าผลลัพธ์E2 เกินร้อยละ 5 นักวิชาการบางคนเขียนเผยแพร่ในเว้ปว่า ค่า E1 ควรมากกว่า E2 เพราะการทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมปรกติจะง่ายกว่าการสอบ ถือเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หากค่า E1 สูง แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำง่ายไป หากค่า E2 สูงก็แสดงว่า ข้อสอบอาจจะง่ายเพราะเป็นการวัดความรู้ความจำมากกว่า ดังนั้น ครูต้องปรับกิจกรรมให้ตรงตามระดับพฤติกรรมที่ตั้งไว้ใน นักวิชาการบางคนบางคนเปลี่ยน E1/E2 เป็น P1/P2 หรืออักษรอื่น แต่สูตรยังคงเดิม บางคนยังคงใช้ E1/E2 แต่เปลี่ยนสูตร เช่น เปลี่ยน X ในสูตรของ E1 เป็น Y ในสูตรE2 แทนที่จะใช้F และอ้างสิทธิว่าตนเองคิดขึ้น บางขึ้นใช้ E1/E2 พัฒนาสูตรขึ้นใหม่ให้แลดูสลับซับซ้อนขึ้น บางคนนำหา E1/E2 ไปคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดนี้ ก็หาได้พ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ไปไม่เพราะแนวคิดการประเมินแบบทวิผลคือ E1/E2 เป็นระบบความคิดที่ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ พัฒนาขึ้น นักวิชาการบางคนโยงการหาค่า E1/E2 ว่า นำมาจากค่า Standard 90/90 ในความเป็นจริง มาตรฐาน 90/90 เป็นการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่มีการพัฒนาบทเรียนแบบเป็นกรอบหรือ Frame แนวคิดคือ 90 ตัวแรก หมายถึง บทเรียน 1 Frame ต้องมีนักเรียนทำให้ถูกต้อง 90 คน ส่วน 90 ตัวหลัง นักเรียน 1 คน จะต้องทำบทเรียนได้ถูกต้อง 90 ข้อ เรียกว่า มาตรฐาน 90/90 ผู้ที่คิดระบบการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนแบบยึด Standard 90/90 คือ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่พัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรม ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท เขียนไว้ในหนังสือของท่าน และอธิบาย 90/90 Standard ว่า “...90 แรกหมายถึง เป็นคะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ซึ่งหมายถึงนักเรียนทุกคน เมื่อสอนครั้งหลังเสร็จให้คะแนนเสร็จ นำคะแนนมาหาค่าร้อยละเฉลี่ยของกลุ่มจะต้องเป็น 90 หรือสูงกว่า ….90 ตัวที่สองแทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละของนักเรียนทั้งหมด ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียนโปรแกรมนั้น….” ส่วน E1/E2 เน้นการเปรียบเทียบผลการเรียนจากพฤติกรรมต่อเนื่องคือกระบวนการ กับพฤติกรรมสุดท้ายคือ ผลลัพธ์ ดังนั้น แนวคิดของ E1/E จึงมีจุดเน้นต่างกับกัน 90/90 Standard หรือ มาตรฐาน 90/90 ที่เน้นความสัมพันธ์ของพฤติกรรมสุดท้ายของนักเรียน กับ การบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อและทุกข้อของบทเรียน แม้จะใช้ 90/90 80/80 หากไม่เน้นกระบวนการกับผลลัพธ์ ก็จะนำไปแทนค่า E1/E2 ไม่ได้
ขอบคุณที่มาดีๆจาก https://www.gotoknow.org/posts/486362
ขอบคุณที่มาดีๆจาก https://www.gotoknow.org/posts/486362
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)